วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เว็บเบราว์เซอร์


เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษweb browserเบราว์เซอร์
 โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ  ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ กูเกิลโครม

Web browser คืออะไร

Web browser คืออะไร” เป็นคำถามที่ผมยังสงสัยว่าทำไมคนยังคงถามและเรายังได้ยินบ่อยมาก ทั้งจากเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ คือถามกันเกือบทุกวัยเลยก็ว่าได้ ที่เป็นเช่นนี้ ผมเดาเอาว่า ไม่ใช่ว่าพวกเราจะไม่รู้ซะเลยที่เดียวว่า Web browser คืออะไร เพราะหลายๆท่าน (รวมทั้งผมด้วย) ต่างก็ใช้งานมันอยู่ทุกวัน อย่างน้อยทุกคนก็ต้องรู้ละว่า Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ แต่นิยามที่แต่ละคนให้ ถึงจะไม่ผิด แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่เหมือนกัน ไม่ครอบคลุม หรือไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่ง หลังจากได้ค้นหาและอ่านนิยามจากหลายๆ เว็บ ผมขอให้ความหมายของ Web browser ใหม่ ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือ Broad Band Internet)

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือ
Broad Band Internet)


บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิค
Wide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูล
ผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้น

ในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่
แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูล
ของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้น

สำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง
25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์


ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)
ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความ
เร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิต
ต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูง
สุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการ
ส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbps


ADSL ดีอย่างไร1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลใน
อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพ
Video Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก

จัดเทรนด์เทคโนโลยี ที่จะเกิดขึ้นในปี 2014

10 อันดับ เทรนด์เทคโนโลยี ที่จะเกิดขึ้นในปี 2014

บริษัทด้านวิจัย Juniper  ได้เผยข้อมูลเทรนด์ด้านไอทีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2014 นี้ ถึง 10 อย่าง ลองมาดูสิว่า เทรนด์ที่เค้ากล่าวมาทั้งหมดนี้ ตรงกับที่คุณคิดหรือเปล่า เชื่อว่าหลังจากที่ได้อ่านแล้วจะเห็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีบนโลกใบนี้หลายอย่างเลยทีเดียว

1. เมืองทั้งหลายจะฉลาดขึ้น ซึ่งเมืองต่างๆจะฉลาดขึ้น ด้วยการที่มี sensor และมี application ที่เชื่อมต่อด้วยระบบ cloud เชื่อมต่อเข้ากับระบบการขนส่ง การดูแลสุขภาพ สาธารณสุข การให้แสงสว่าง ข้อมูลจากสภาพแวดล้อม และอื่นๆ ซึ่งเมืองในแบบ SMART CITY จะมีระบบสื่อสาร ด้วยเทคโนโลยี ที่พร้อม  ให้อำนวยความสะดวกสบายครบครัน คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย ท่านสามารถดูเมืองตัวอย่างของ Smart City ได้ที่นี่


วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
       2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถท าได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการท างานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)

องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย

1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

       1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
      2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
   

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย



วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


       ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่ค “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคว่า Thailand

การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง
ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535

กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

     

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นโยบายโปรแกรม AdSense

นโยบายโปรแกรม AdSense

ผู้เผยแพร่โฆษณาทั้งหมดจะต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อไปนี้ โปรดอ่านอย่างละเอียด หากคุณไม่ปฏิบัติตามนโยบายเหล่านี้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก Google เราขอสงวนสิทธิ์ในการหยุดแสดงโฆษณาบนเว็บไซต์ของคุณและ/หรือปิดบัญชี AdSense ของคุณได้ทุกเมื่อ หากบัญชีของคุณถูกปิด คุณจะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมในโปรแกรม AdSense ได้อีกต่อไป
เนื่องจากเราอาจเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ทุกเมื่อ โปรดตรวจสอบข้อมูลอัปเดตที่นี่อย่างสม่ำเสมอ ตามข้อกำหนดในการให้บริการออนไลน์ของเรา คุณมีหน้าที่ติดตามข้อมูลล่าสุดและปฏิบัติตามนโยบายที่แสดงไว้ที่นี่ การยกเว้นใดๆ จากนโยบายเหล่านี้จะต้องได้รับอนุญาตจาก Google ก่อนเท่านั้น

Google AdSense Policies Overview

การคลิกและการแสดงผลที่ไม่ถูกต้อง

ผู้เผยแพร่โฆษณาไม่สามารถคลิกโฆษณาของตัวเองหรือใช้วิธีใดๆ ในการเพิ่มการแสดงผลและ/หรือคลิกให้สูงเกินความเป็นจริง รวมถึงวิธีคลิกด้วยตนเอง

การส่งเสริมให้เกิดการคลิก


อินเทอร์เน็ต ( Internet )

อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้


ประวัติของอินเทอร์เน็ต


         อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

         

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินเตอร์เน็ตควมเร็วสูง

ก่อนอื่นเราจะมาดูความหมายของอินเตอร์เน็ตควมเร็วสูงกันก่อน
ADSL  อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

       การเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไปในอดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหมุนโมเด็มเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในปัจจุบันสูงสุดได้ไม่เกิน 56 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps) แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้อยครั้งที่เราสามารถใช้งานโมเด็มได้เต็มความสามารถที่ความเร็วดังกล่าว เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่นสภาพของคู่สายโทรศัพท์ไม่ดีพอ หรือขีดความสามารถของผู้ให้บริการ ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วต่ำดังกล่าวได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในบ้านเราปัจจุบันยังไม่สูงมากนัก อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้ตามบ้านปัจจุบันคือการใช้เคเบิ้ลโมเด็ม ซึ่งถึงแม้จะให้ความเร็วที่สูงแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องลงทุนเดินสายสัญญาณใหม่ทำให้ต้องจ่ายค่ายริการที่ค่อนข้างสูงและมีพื้นที่บริการจำกัดอยู่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น



วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์

ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์


 
ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อิเล็กทรอนิกส์แบงกิง (อังกฤษ: Electronic Banking; Online banking; Internet banking) 
มายถึง การประกอบธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับการให้บริการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ
 ผ่านอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ อินเตอร์เน็ต มีการให้บริการเช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน หรือ สอบถามยอดเงิน เป็นต้น
 โดยในอนาคตการให้บริการของธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถพัฒนาได้อีกเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการในการใช้บริการของผู้ใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์
 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายในการทำธุรกรรมมากขึ้นและประหยัดทรัพยากร

ประเทศไทย

ในประเทศไทย ธนาคารที่เปิดบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรก คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มมีเว็บไซต์ สำหรับเผยแพร่ข้อมูลทั่วไป ของธนาคาร ผ่านอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2538 นับตั้งแต่นั้นมา การมีเว็บไซต์ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยก็เริ่มแพร่หลาย ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมธนาคารได้เองมีการริเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่นำมาให้บริการได้จริงหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติการให้บริการดังกล่าวได้ในปี พ.ศ. 2542 โดยธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เปิดการบริการนี้ในช่วงต้น พ.ศ. 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารที่ 2 ที่เปิดให้บริการนี้ในกลางปี พ.ศ. 2543 ตามมาด้วย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในปีเดียวกันนั้น

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีกี่ชนิด

บทความน่ารู้ เรื่องเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีกี่ชนิด
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
1. PAN ( PERSONAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบบุคคล
          -เชื่อมโยง อุปกรณ์การสื่อสารหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน
          -ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 1 เมตร
          -ความเร็ว ประมาณ 10  Mbps
          -ใช้สื่อ IrDA Port, Bluetooth, Wireless

2.LAN ( LOCAL AREA NETWORK) เครือข่ายแบบท้องถิ่น
          -เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันติดต่อ เชื่อมโยงในระยะใกล้  เช่น ภายในตึก องค์กร สำนักงาน
          -ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
          -ความเร็ว ประมาณ 10 – 100 Mbps
          -ใช้สื่อ Coaxial, UTP, STP, Fiber Optical, Wireless


3. MAN (METROPOLITAN AREA NETWORK)
          -เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่นติดต่อข้ามจังหวัด
          -ระยะทาง 100 กิโลเมตร
          -ความเร็ว 1 Gbps
          -ใช้สื่อ Fiber Optical, Microware, Satellite

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (อังกฤษNational Electronics and Computer Technology Center) หรือ เนคเทค(NECTEC) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการวิจัย ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ

ประวัติ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลง สถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษInternet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
รูปภาพประกอบ


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย 

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 นับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นเลื่อยๆ

ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรม

ความเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ต

ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต (อังกฤษInternet Activism) หรือ การจัดระเบียบรูปแบบของการออนไลน์ การสนับสนุนอิเล็กทรอนิกส์ ความเคลื่อนไหวทางโลกไซเบอร์, E-campaigning และ E-activism คือการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล เว็บไซต์ และโปสการ์ด โดยการเคลื่อนไหวของประชาชนและการส่งข้อมูลท้องถิ่นผู้ชมจำนวนมาก เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ใช้ก่อให้เกิดการระดมทุนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชน, lobbying และการจัดการ

ประเภท

Sandor Vegh ได้แบ่งความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตออกเป็น 3 ประเภทคือ ความตระหนักการโฆษณา, องค์กรระดม และการกระทำปฏิกิริยาอินเทอร์เน็ตเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับกิจกรรมอิสระหรือ E – activists โดยเฉพาะที่มีข้อความอาจใช้เคาน์เตอร์ที่สำคัญโดยเฉพาะเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเกิดขึ้น อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นในการรายงานความโหดร้ายสู่โลกภายนอก ผู้สร้างความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถส่งการร้องทุกข์ผ่านทาง E-petitions ที่จะส่งไปยังรัฐบาลและประชาชนและองค์กรเอกชนเพื่อประท้วงต่อต้านและกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายในด้านบวกจากการค้าอาวุธการทดสอบสัตว์ มากมายไม่หวังผลกำไรและองค์กรการกุศลใช้วิธีการเหล่านี้ส่งอีเมลร้องเรียนไปยังผู้ที่รายชื่ออีเมลของพวกเขาถามคนที่จะผ่านพวกเขา

ความสัมพันธ์กับการเมืองและธุรกิจ

การเมือง

ในปี 2004 การอภิปรายของผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี ในสหรัฐอเมริกา Carol Darr ผู้อำนวยการสถาบันการเมืองประชาธิปไตยและอินเทอร์เน็ต ที่มหาวิทยาลัย George Washington ในรัฐวอชิงตัน.ดี.ซี กล่าวว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดึงดูดสนับสนุน "พวกเขาทั้งหมดมีความสามารถพิเศษ นอกรีต และลุกลาม ให้อินเทอร์เน็ตมีการโต้ตอบและต้องมีการยืนยันในส่วนของผู้ใช้ให้ตรงข้ามกับการตอบสนองจากผู้ใช้ passive TV มันไม่น่าแปลกใจที่ผู้สมัครจะต้องมีคนที่คนต้องการสัมผัสและโต้ตอบกับ

บริษัทและห้างร้าน

บริษัท ยังมีการใช้เทคนิคความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต เพิ่มการสนับสนุนสำหรับสาเหตุของ ตาม Christopher Palmeri กับ BusinessWeek Online บริษัท เว็บไซต์ ที่มีเจตนาที่จะบวกมีผลต่อภาพลักษณ์ของตัวเองเพื่อให้ความดันลบในคู่แข่งที่ มีผลต่อความคิดเห็นภายในกลุ่มเลือกและผลักดันการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

ข้อวิจารณ์

Sunstein กล่าวกับนิตยสาร นิวยอร์กไทมส์ ว่า "การสนทนาจะเกี่ยวกับกลยุทธ์หรือม้าแข่ง...ปัญหาหรือว่าไม่ดีผู้สมัครอื่น ๆ และจะดูเหมือนการอภิปราย ยังไม่ได้เช่นนี้ควรจะเซ็นเซอร์ แต่สามารถเพิ่มความเผ็ดร้อน, ลัทธิหัวรนแรงเพิ่มขึ้นและทำให้ความเข้าใจยากขึ้น"